นักธรรมตรี
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
- เป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ชาวไทยและต่างชาติ
- เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้อยู่อาศัยภายในประเทศไทยโดยถูกต้องตามกฎหมาย
- เป็นผู้ได้รับการรับรองว่าไม่มีประวัติอาชญากรรม
- เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยและไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี
- สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี
ระยะเวลาการศึกษา
- ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๔๕ ชั่วโมง / ๑๕ สัปดาห์ / ๓ เดือน
- เรียนสัปดาห์ละ ๒ วัน / ๑ วัน เรียน ๒ วิชา ที่วัดสวนดอก เชียงใหม่ หรือ ผ่านระบบออนไลน์ zoom
- จำนวนนักเรียน ๖๐ รูป/คน (ต่อ ๑ รุ่น / ๑ ชั้น)
การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา
- ให้มีการวัดผลการศึกษาทุกรายวิชา
- ต้องมีเวลาเรียนในแต่ละรายวิชาไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมด
- การประเมินผลการศึกษาในแต่ละรายวิชานั้น ให้มีผลการศึกษาระดับ (Grade) และค่าระดับ(Grade Point) ทั้งนี้ เกณฑ์คะแนนต่ำสุดที่ถือว่าผ่านในรายวิชานั้น ๆ คือ ระดับ S ดังนี้
ผลการศึกษา | คะแนน | ระดับ |
ผ่านดีเยี่ยม | ๙๐ – ๑๐๐ | H |
ผ่าน | ๖๐ – ๘๙ | S |
ไม่ผ่าน | < ๕๙ | U |
นักธรรมตรี
โครงสร้างหลักสูตร/รายวิชา
นักธรรมชั้นตรี/ธรรมศึกษาตรี
หลักสูตร | ดาวน์โหลด |
---|---|
1. วิชาพุทธศาสนสุภาษิต | ดาวน์โหลด |
2. วิชาพุทธประวัติ | ดาวน์โหลด |
3. วิชาวินัยมุข ในระดับชั้นนี้จะว่าด้วยศีล ๒๒๗ ข้อของพระภิกษุ | ดาวน์โหลด |
4. วิชาธรรม ว่าด้วยหลักธรรมหมวดใหญ่ๆ และเรื่องราวของพระพุทธเจ้า | ดาวน์โหลด |
นักธรรมโท
นักธรรมชั้นโท/ธรรมศึกษาโท
- วิชาเรียงความแก้กระทูธรรม ใช้หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต
- วิชาธรรมวิภาค ใช้หนังสือธรรมวิภาค ปริจเฉทที่ ๒
- วิชาตำนาน (อนุพุทธประวัติ) ใช้หนังสืออนุพุทธประวัติ และหนังสือพุทธานุพุทธประวัติ เฉพาะประวัติพระสาวก หนังสือสังคีติกถาและ หนังสือปฐมสมโพธิ
- วิชาวินัยบัญญัติ ใช้หนังสือวินัยมุขเล่ม ๑๒
นักธรรมเอก
นักธรรมชั้นเอก/ธรรมศึกษาเอก
- วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม วิชานี้กำหนดให้ผู้เรียนเขียนอธิบายพุทธศาสนสุภาษิตตามภูมิความรู้
- วิชาธรรมวิจารณ์
- วิชาพุทธานุพุทธประวัติ
- วิชาวินัยมุขและพระราชบัญญัติคณะสงฆ์